Read more about the article “โครงการห้องปฏิบัติการเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระย่านอินฟราเรดและเทร่าเฮิรตซ์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบนิเวศวิจัยระดับแนวหน้าในประเทศไทย” ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก บพค. โปรแกรมที่ 5 ส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้าและการวิจัยพื้นฐานที่ประเทศไทยมีศักยภาพ ปีงบประมาณ 2565 และจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2564-2565
ระบบเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้นและระบบเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระย่านอินฟราเรดช่วงกลางและเทราเฮิรตซ์ (Electron linear accelerator system and MIR/THz FEL beamlines)

“โครงการห้องปฏิบัติการเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระย่านอินฟราเรดและเทร่าเฮิรตซ์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบนิเวศวิจัยระดับแนวหน้าในประเทศไทย” ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก บพค. โปรแกรมที่ 5 ส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้าและการวิจัยพื้นฐานที่ประเทศไทยมีศักยภาพ ปีงบประมาณ 2565 และจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2564-2565

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยด้านเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนเชิงเส้นและเลเซอร์ความไวสูงย่านอินฟราเรดและเทราเฮิรตซ์ ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาสถานีทดลองเพื่อประยุกต์ใช้ในงานวิจัยขั้นแนวหน้าและอุตสาหกรรมในอนาคต จุดเด่นของผลผลิตของโครงการ ได้แก่ ระบบเครื่องเร่งอิเล็กตรอนและสถานีผลิตเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระย่านอินฟราเรดช่วงกลางและเทราเฮิรตซ์ และระบบเทราเฮิรตซ์สเปกโทรสโกปีโดเมนเวลา ความสำเร็จดังกล่าวนับเป็นก้าวสำคัญที่แสดงให้เห็นว่านักวิจัยไทยสามารถสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านนี้ได้เองเป็นครั้งแรกในประเทศ  โดยการทำงานร่วมกันอย่างทุ่มเทของทีมนักวิจัย นักศึกษา และหน่วยงานความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง ผลผลิต (Output): เครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐาน (Facilities and Infrastructure): 1 ห้องปฏิบัติการวิจัย เทคโนโลยีต้นแบบ (Prototype) ระดับ TRL4 ระบบเทราเฮิรตซ์สเปกโทรสโกปีโดเมนเวลา (THz time-domain spectroscopy system) แม่เหล็กสี่ขั้ว (Quadrupole…

Continue Reading“โครงการห้องปฏิบัติการเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระย่านอินฟราเรดและเทร่าเฮิรตซ์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบนิเวศวิจัยระดับแนวหน้าในประเทศไทย” ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก บพค. โปรแกรมที่ 5 ส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้าและการวิจัยพื้นฐานที่ประเทศไทยมีศักยภาพ ปีงบประมาณ 2565 และจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2564-2565

การจัดประชุมสัมมนาเรื่อง เครื่องเร่งอนุภาคและการประยุกต์ใช้ในประเทศไทย (Seminar on Particle Accelerators and Applications in Thailand)

ระหว่างวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2566 กลุ่มภารกิจการพัฒนา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมด้านกำลังคนและสถาบันความรู้ (O-Brain) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้โครงการ “ศึกษาแนวทางการพัฒนาองค์ความรู้ กำลังคนและสถาบันความรู้เพื่อออกแบบกลไกการดำเนินงานให้บรรลุหมายความสำเร็จในงานวิจัยระดับขั้นแนวหน้าที่จะยกระดับให้ประเทศก้าวหน้าล้ำยุคในด้านเทคโนโลยีควอนตัม เทคโนโลยีด้านฟิสิกส์พลังงานสูง และฟิสิกส์พลาสมาและเทคโนโลยีเกี่ยวกับโลกและอวกาศ” ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดงานประชุมสัมมนาเรื่อง “เครื่องเร่งอนุภาคและการประยุกต์ใช้ในประเทศไทย” (Seminar on Particle Accelerators…

Continue Readingการจัดประชุมสัมมนาเรื่อง เครื่องเร่งอนุภาคและการประยุกต์ใช้ในประเทศไทย (Seminar on Particle Accelerators and Applications in Thailand)

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูง ครั้งที่ 5 (Advanced Engineering Workshop V)

รศ.ดร.ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ร่วมด้วย ผศ.ดร.สาคร ริมแจ่ม หัวหน้าโครงการวิจัย และ น.ส.พิชญาภัค กิติศรี นักวิจัยในโครงการ ได้เดินทางไปร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูง ครั้งที่ 5 (Advanced Engineering Workshop V) จัดโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)…

Continue Readingการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูง ครั้งที่ 5 (Advanced Engineering Workshop V)

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญภายใต้ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอิเล็กตรอนและเลเซอร์อิสระย่านอินฟราเรด/เทร่าเฮิรตซ์ เพื่อเสริมแกร่งระบบนิเวศการวิจัยขั้นแนวหน้าของประเทศไทยให้การต้อนรับผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครื่องเร่งอนุภาคและการประยุกต์ใช้งาน จาก Kyoto University

วันที่ 7 กันยายน 2566 รศ.ดร.ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญภายใต้ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอิเล็กตรอนและเลเซอร์อิสระย่านอินฟราเรด/เทร่าเฮิรตซ์ เพื่อเสริมแกร่งระบบนิเวศการวิจัยขั้นแนวหน้าของประเทศไทย ให้การต้อนรับ Professor Hideaki Ohgaki ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครื่องเร่งอนุภาคและการประยุกต์ใช้งาน จาก Kyoto University ณ ห้องปฏิบัติการวิจัยเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น และเยี่ยมชมสถานีทดลองด้านเครื่องเร่งอิเล็กตรอนฯ รวมทั้งหารือเพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาระบบโพรงแสง (optical cavity) สำหรับผลิตแสงเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระย่านอินฟราเรดขั้นกลาง (MIR-FEL) โดย ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอิเล็กตรอนและเลเซอร์อิสระย่านอินฟราเรด/เทร่าเฮิรตซ์ เป็นกิจกรรมภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ภายใต้การผลักดันของศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์เพื่อเสริมแกร่งระบบนิเวศการวิจัยขั้นแนวหน้าของประเทศไทย มุ่งสู่การยกระดับการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้า…

Continue Readingศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญภายใต้ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอิเล็กตรอนและเลเซอร์อิสระย่านอินฟราเรด/เทร่าเฮิรตซ์ เพื่อเสริมแกร่งระบบนิเวศการวิจัยขั้นแนวหน้าของประเทศไทยให้การต้อนรับผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครื่องเร่งอนุภาคและการประยุกต์ใช้งาน จาก Kyoto University

นักวิจัยจาก PCELL ร่วมกับ NARIT เข้าร่วมทำวิจัยที่ Institute of Low Temperature Science Hokkaido University ประเทศญี่ปุ่น

ในระหว่างวันที่ 14-18 สิงหาคม 2566 นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับนักวิจัยจากสถาบันวิจัยดาราศาสตรแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในโครงการการศึกษาโครงสร้างการเกิดและอันตรกิริยาระหว่างโมเลกุลของโมเลกุลไฮโดรคาร์บอนและโมเลกุลอินทรีย์ในอวกาศ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมดำเนินงานวิจัยในหัวข้อ Cold surface Experiments of Interstellar Complex Molecules ณ Institute of Low Temperature Science, Hokkaido University ประเทศญี่ปุ่น การเข้าร่วมดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านการทดลองที่อุณหภูมิต่ำ สำหรับการจำลองสภาวะเสมือนจริงบนอวกาศหรือ…

Continue Readingนักวิจัยจาก PCELL ร่วมกับ NARIT เข้าร่วมทำวิจัยที่ Institute of Low Temperature Science Hokkaido University ประเทศญี่ปุ่น

นักวิจัยจาก PCELL เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการป้องกันอันตรายจากรังสีระดับ 1 (ป้อง1) ณ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ

ในวันที่ 7-11 สิงหาคม 2566 นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น เข้าร่วมโครงการการเข้าร่วมอบรมหลักสูตรการป้องกันอันตรายจากรังสีระดับ 1 (ป้อง1) ณ ห้องฝึกอบรม อาคารเครื่องเร่งอนุภาค ศูนย์ฉายรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ต. คลองห้า อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี (เทคโนธานี) ) เพื่อพัฒนาทักษะและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้รังสีจากเครื่องกำเนิดรังสี เพื่อส่งเสริมความรู้และความเข้าใจในการป้องกันอันตรายจากรังสีที่กำเนิดจากอุปกรณ์และระบบเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น และเพื่อให้มีคุณสมบัติในการเข้าสอบสำหรับขอรับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีประเภทเครื่องกำเนิดรังสีระดับสูง

Continue Readingนักวิจัยจาก PCELL เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการป้องกันอันตรายจากรังสีระดับ 1 (ป้อง1) ณ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ

นักศึกษาและคณาจารย์จาก PCELL เข้าร่วมอบรม the 6th International school on Beam Dynamics and Accelerator Technology (ISBA23)

ในระหว่างวันที่ 3 - 12 สิงหาคม 2566 นักศึกษาบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาฟิสิกส์ (ระดับปริญญาเอก) ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จากห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น (PCELL) เข้าร่วมอบรมระยะสั้น (the 6th International school on Beam Dynamics and Accelerator Technology (ISBA23) https://conference-indico.kek.jp/event/213/ ณ ประเทศเกาหลีใต้ การอบบรมด้านเครื่องเร่งอนุภาคในภูมิภาคเอเชียที่จัดขึ้นที่เมืองโปฮัง ประเทศเกาหลีใต้…

Continue Readingนักศึกษาและคณาจารย์จาก PCELL เข้าร่วมอบรม the 6th International school on Beam Dynamics and Accelerator Technology (ISBA23)

นักศึกษาและคณาจารย์จาก PCELL เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่งานวิจัยด้านเคมีดาราศาสตร์ในประเทศไทยครั้งที่ 2

นักศึกษาและคณาจารย์จาก PCELL เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่งานวิจัยด้านเคมีดาราศาสตร์ในประเทศไทยครั้งที่ 2 (Workshop on Science and Technology toward Astrochemistry Research in Thailand) ณ โรงแรม Flora creek เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 23 - 27 กรกฎาคม 2566 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ ได้มีการแนะนำงานวิจัยในหัวข้อ Astrochemistry ได้เรียนรู้และฝึกฝนการใช้โปรแกรม ORCA…

Continue Readingนักศึกษาและคณาจารย์จาก PCELL เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่งานวิจัยด้านเคมีดาราศาสตร์ในประเทศไทยครั้งที่ 2

นักศึกษาจาก PCELL เข้าร่วมโปรแกรมนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำปี 2566

ในระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม – 7 กันยายน 2566 นักศึกษาจากห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1 ใน 4 ของตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมโปรแกรมนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซีประจำปี 2566 ณ สถาบันเดซี เมืองฮัมบูร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันเดซี, มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) การเข้าร่วมโปรแกรมครั้งนี้ได้รับฟังการบรรยายจากนักวิจัยภายในสถาบันเดซี ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องเร่งอนุภาคและการนำแสงที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในสายงานต่างๆ นอกจากนี้ทางคณะผู้จัดยังได้พาผู้เข้าร่วมโปรแกรมเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการภายในสถาบันเดซีและสถาบัน European…

Continue Readingนักศึกษาจาก PCELL เข้าร่วมโปรแกรมนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำปี 2566

นักศึกษาจาก PCELL เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการป้องกันอันตรายจากรังสีระดับ 1 (ป้อง1) ณ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ

ในวันที่ 10 – 14 กรกฎาคม 2566 นักศึกษาจากห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น เข้าร่วมโครงการการเข้าร่วมอบรมหลักสูตรการป้องกันอันตรายจากรังสีระดับ 1 (ป้อง1) ณ ห้องฝึกอบรม อาคารเครื่องเร่งอนุภาค ศูนย์ฉายรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ต. คลองห้า อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี (เทคโนธานี) เพื่อพัฒนาทักษะและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้รังสีจากเครื่องกำเนิดรังสี เพื่อส่งเสริมความรู้และความเข้าใจในการป้องกันอันตรายจากรังสีที่กำเนิดจากอุปกรณ์และระบบเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น และเพื่อให้มีคุณสมบัติในการเข้าสอบสำหรับขอรับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีประเภทเครื่องกำเนิดรังสีระดับสูง  

Continue Readingนักศึกษาจาก PCELL เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการป้องกันอันตรายจากรังสีระดับ 1 (ป้อง1) ณ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ

นักศึกษาและคณาจารย์จาก PCELL เข้าร่วมประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการ Siam Physics Congress (SPC2023)

นักศึกษาและคณาจารย์จาก PCELL เข้าร่วมประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการ Siam Physics Congress (SPC2023) ในวันที่ 14-16 มิถุนายน 2566 ณ Empress Convention Centre จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างวันที่ 14-16 มิถุนายน 2566 นักศึกษาและนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมและนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการ Siam Physics Comgress (SPC2023) ณ Empress…

Continue Readingนักศึกษาและคณาจารย์จาก PCELL เข้าร่วมประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการ Siam Physics Congress (SPC2023)

โครงการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับการปรับระดับโพรงทางแสงสำหรับเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระ ย่านอินฟราเรดช่วงกลาง

ในระหว่างวันที่ 24 ถึง 29 เมษายน พ.ศ. 2566 Assoc. Prof. Dr. Heishun Zen ได้เดินทางมายังห้องปฏิบัติการวิจัยเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับระดับโพรงทางแสงสำหรับเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระย่านอินฟราเรดช่วงกลาง ทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ และได้มีการหารือเกี่ยวกับการออกแบบระบบวัดคุณสมบัติของรังสีที่ผลิตจากเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระย่านอินฟราเรดช่วงกลาง รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมอุปกรณ์วัดคุณสมบัติของรังสี นอกจากนี้ Assoc. Prof. Dr. Heishun Zen ได้บรรยายพิเศษเกี่ยวกับผลงานวิจัยด้านเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระฉบับล่าสุดที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ ในนามของ Institute of Advanced…

Continue Readingโครงการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับการปรับระดับโพรงทางแสงสำหรับเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระ ย่านอินฟราเรดช่วงกลาง